วันจันทร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรสัตว์ (Animalia Kingdom) 
       สิ่งมีชีวิตที่เป็นสมาชิกในอาณาจักรสัตว์ มีประมาณ 1,200,000 ชนิด ประมาณ 97 เปอร์เซ็นต์เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ส่วนที่เหลือเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลัง สิ่งมีชีวิตที่เป็นสัตว์มีคุณสมบัติเฉพาะหลายประการ คือ ไม่มีคลอโรฟีลล์ มีหลายเซลล์ ประกอบเปนโครงร่างของเนื้อเยื่อและอวัยวะ ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ และมีการดำรงชีวิตแบบ heterotroph ซึ่งต้องอาศัยอาหารจากสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ไม่สามารถที่จะสังเคราะห์ด้วยตนเองได้

       อาณาจักรสัตว์ แบ่งเป็น 9 ไฟลัม ได้แก่
       1. ไฟลัมพอริเฟอรา (Phylum Porifera)
       2. ไฟลัมไนดาเรีย (Phylum Cnidaria)
       3. ไฟลัมแพลทีเฮลมินเทส (Phylum Platyhelminthes)
       4. ไฟลัมนีมาโทดา (Phylum Nematoda)
       5. ไฟลัมแอนเนลิดา (Phylum Annelida)
       6. ไฟลัมมอลลัสกา (Phylum Mollusca)
       7. ไฟลัมอาร์โทโพดา (Phylum Arthropoda)
       8. ไฟลัมเอคไคโนเดอร์มาตา (Phylum Echinodermata)
       9. ไฟลัมคอร์ดาตา (Phylum Chordata)
 

1. ไฟลัมพอริเฟอรา (Phylum Porifera)
        สัตว์ในไฟลัมนี้เรียนกกันทั่วไปว่าฟองน้ำ ส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในน้ำเค็ม มีบางชนิดอาศัยอยู่ในน้ำจืด มีลักษณะสำคัญดังนี้
  1. มีสมมาตรแบบรัศมี (Radial symmetry) หรือไม่มีสมมาตร (asymmetry)
  2. มีเนื้อเยื่อ 2-3 ชั้น ชั้นนอกทำหน้าที่เป็นผิวลำตัวหรือเอพิเดอร์มิส ส่วนชั้นในประกอบด้วย เซลล์พิเศษเรียกว่า โคแอโนไซต์ (Choanocyte หรือ Collar cell) ซึ่งเป็นเซลล์ที่มีแฟเจลลา 1 เส้นและ มีปลอกคอ (Collar) บุอยู่โดยรอบเรียกเซลล์ในชั้นนี้ว่า ชั้นแกสทรัล (Gastral layer)
  3. ทางเดินอาหารเป็นแบบช่องร่างแห (Channel network)ซึ่งประกอบ ด้วยรูเปิดเล็กๆออสเทีย(Ostia)ที่บริเวณผิวลำตัวรอบตัวทำหน้าที่เป็น ทางน้ำไหลเข้าภายในตัวและมีรูเปิดขนาดใหญ่ออสคิวลัม(Osculum) ทำหน้าที่เป็นทางน้ำไหลออกจากตัว
        เซลล์โคแอโนไซต์(Choanocyte)ที่บุอยู่ที่ผิวด้านในจะพัดโบกแฟเจลลาอยู่ ตลอดเวลาทำให้เกิดการไหลเวียนของน้ำเข้าทางรูออสเทีย(Ostia)และไหล ออกจากตัวทางออสคิวลัม(Osculum)การไหลเวียนของน้ำผ่านลำตัวนี้ก่อให้
เกิดประโยชน์หลายประการคือ
  • อาหารต่างๆได้แก่พวกแพลงก์ตอนจะไหลเข้ามาพร้อมกับน้ำและถูก เซลล์โคแอโนไซต์จับไว้และย่อยเพื่อส่งไปเลี้ยงเซลล์ทั่วร่างกายต่อไป
  • เกิดการแลกเปลี่ยนก๊าซขึ้นทั่วตัวโดยอาศัยการแพร่ของก๊าซออกซิเจน จากน้ำเข้าสู่เซลล์และคาร์บอนไดออกไซด์จากเซลล์ออกสู่น้ำรอบตัว
  • เกิดการขับถ่ายของเสียต่างๆจากเซลล์ทั่วร่างกายและของเสียเหล่านี้ จะออกมาพร้อมกับน้ำที่ไหลออกมาทางOsculum
  • ทำให้เกิดการผสมพันธุ์โดยสเปิร์มที่เข้ามาตอนน้ำไหลเข้าจะถูกเซลล์ โคแอโนไซต์จับไว้และจะเกิดการผสมพันธุ์กับไข่ต่อไป
     
4. ไม่มีระบบหมุนเวียนระบบหายใจระบบขับถ่ายและระบบประสาท โดยเฉพาะโดยทั่วไปอาศัยการไหลเวียนของน้ำเป็นตัวการสำคัญใน ขบวนการเหล่านี้
5. มีโครงร่างภายใน (Endoskeleton) เรียกว่าหนามฟองน้ำ (Spicule) ซึ่งมักจะเป็นสารพวกหินปูนหรือแก้ว(Silica)บางชนิดมีโครงร่างเป็นพวกใย โปรตีน (Spongin) ทำให้ตัวฟองน้ำมีลักษณะนุ่มนิ่ม
6. การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศโดยการแตกหน่อและการสืบพันธุ์ แบบอาศัยเพศโดยการสร้างสเปิร์มและไข่ผสมกันและจะได้ตัวอ่อนที่ มีขนซีเลียว่ายน้ำได้และต่อมาก็หาที่เกาะเจริญเป็นตัวฟองน้ำเต็มวัยต่อไป 
       
        สัตว์จำพวกฟองน้ำมักจะเจริญและอาศัยอยู่ในบริเวณแนวหินปะการัง ดังนั้นฟองน้ำจึงเป็น ส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดสมดุลทางธรรมชาติเช่นเดียวกัน พวกซีเลนเทอเรตภายในตัวหรือโพรงของฟองน้ำจะเป็นที่อยูอาศัยของสัตว์ น้ำขนาดเล็กและพวกลูกกุ้ง ลูกปู ลูกปลา ทำให้มันรอดพ้นจากการถูกจับกิน และทำให้มีโอกาสที่จะเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยได้มากยิ่งขึ้นนอกจากนี้ ฟองน้ำถู ตัวสามารถเลี้ยงและผลิตเป็นอุตสาหกรรมและส่งออกที่มีราคาสูง ทำรายได้ให้แก่ผู้ผลิตได้มากๆดังนั้นการเลี้ยงฟองน้ำจึงเป็นอาชีพอย่างหนึ่ง ที่ทำรายได้ให้แก่ชาวประมง
   

2. ไฟลัมไนดาเรีย (Phylum Cnidaria)
        สัตว์ที่อยู่ในไฟลัมนี้ เรียกว่า ซีเลนเทอเรต (Coelenterate) ส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในทะเล เช่น ปะการัง กัลปังหา ดอกไม้ทะเล แมงกะพรุน มีเพียงส่วนน้อยอยู่ในน้ำจืด เช่น ไฮดรา แมงกระพรุนน้ำจืด ไฟลัม Coelenterate มีลักษณะสำคัญ ดังนี้
  1. มีสมมาตรแบบรัศมี (Radial symmetry)
  2. มีเนื้อเยื่อ 2 ชั้น คือ เนื้อเยื่อชั้นนอกทำหน้าที่เป็นผิวลำตัวเรียกว่า เอพิเดอร์มิส (Epidermis) และเนื้อเยื่อชั้นในทำหน้าที่เป็นเยื่อบุทางเดินอาหารเรียกว่า แกสโทรเดอร์มิส (Gastrodermis) ระหว่างเนื้อเยื่อชั้นนอกและเนื้อเยื่อชั้นในมีสารซึ่งมีลักษณะคล้ายวุ้น แทรกอยู่เรียกว่าชั้นโซเกลีย (Mesoglea)
  3. ทางเดินอาหารเป็นแบบถุงไม่สมบูรณ์มีปากแต่ไม่มีทวารหนักช่อง ทางเดินอาหารนี้อยู่กลางลำตัวทำหน้าที่เป็นทั้งทางเดินอาหารและ ระบบหมุนเวียน เรียกว่าแกสโทรวาสคูลาร์ คาวิตี (Gastrovascular carvity)
  4. มีเข็มพิษหรือเนมาโทซีสต์(Nematocyst)ใช้ในการป้องกันและฆ่า เหยื่อเนมาโทซีสต์มักจะอยู่กันหนาแน่นที่บริเวณหนวด(Tentacle) ซึ่งอยู่รอบปากมากกว่าบริเวณอื่นๆทำให้การหาอาหารและการต่อสู้กับ ศัตรูมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
  5. ไม่มีระบบหายใจ ระบบหมุนเวียนโลหิต ระบบขับถ่ายโดยเฉพาะ แต่โดยทั่วไปอาศัยการแพร่ของก๊าซและของเสียต่างๆระหว่างน้ำที่ อยู่รอบๆตัวกับผิวลำตัวโดยตรง หรือมีเซลล์ชนิดพิเศษเช่นเซลล์ ที่ทำหน้าที่ในการย่อยอาหาร (nutritive cell) ช่วยทำหน้าที่ ย่อยและดูดซึมสามอาหาร เพื่อส่งไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายต่อไป
  6. ระบบประสาทเป็นแบบข่ายใยประสาท(Nerve net)แผ่กระจายทั่วตัว และหนาแน่นบริเวณหนวดดังนั้นการนำกระแสประสาทจึงเป็นไปใน ลักษณะทุกทิศทุกทางทำให้กระแสประสาทเคลื่อนที่ไปได้ช้าและมีทิศ ทางไม่แน่นอนซึ่งแตกต่างจากสัตว์ชั้นสูงอื่นๆ
  7. สัตว์กลุ่มนี้มีรูปร่างเป็น 2 แบบ คือ รูปร่างแบบต้นไม้เรียกว่า โพลิป (Polyp) เช่น ไฮดรา ปะการังดอกไม้ทะเลและรูร่างคล้ายร่มหรือกระ ดิ่งคว่ำ เรียกว่า เมดูซา(Medusa) ได้แก่แมงกระพรุน
  8. การสืบพันธุ์ มีทั้งแบบอาศัยเพศและแบบไม่อาศัยเพศแบบอาศัยเพศ โดยการสร้างเซลล์สืบพันธุ์มาผสมกันส่วนการสืบพันธุ์แบบไม่ อาศัยเพศโดยการแตกหน่อหรือการ แบ่งตัว ซีเลนเทอเรตหลายชนิด เช่น แมงกะพรุน โอบีเลียมีการสืบพันธุ์แบบสลับ (Alternative of generation) โดยมีการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศด้วยการแบ่งตัวหรือ แตกหน่อกับการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศด้วยการสร้างเซลล์สืบพันธุ์มา ผสมกัน
        สัตว์ในกลุ่มนี้จัดว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปะการัง เพราะปะการัง สามารถสร้างโครงร่างภายนอกซึ่งเป็นสารจำพวก หินปูนได้และโครงหินปูนเหล่านี้รวมกันมากๆกลายเป็นแนวหินปะการังซึ่ง ให้ความสวยงามเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจเป็นที่ท่องเที่ยวและมีนักท่องเที่ยวมา ชมปีละมากๆเช่น หินปะการังที่เกาะล้านนอกจากนี้แนวหินปะการังยังมี ความสำคัญต่อระบบนิเวศอย่างมาก เพราะแนวหินปะการังเป็นที่อยู่อาศัยที่ หลบภัย ที่หาอาหาร ที่ผสมพันธุ์และการเจริญของตัวอ่อนของสัตว์ทะเล หลายชนิดก็อาศัยแนวหินปะการังเป็นแหล่ง ที่อาศัยและที่เจิญเติบโต ดังนั้นแนวหินปะการังจึงมีสัตว์ต่างๆมาอาศัยอยู่อย่างชุกชุมซึ่ง ลักษณะอันนี้จัดเป็นระบบนิเวศที่สำคัญและเป็นสมดุลธรรมชาติอย่างหนึ่ง แต่ในปัจจุบันเป็นที่น่าเสียดายเป็นอย่างมากเพราะแนวหินปะการังถูก ทำลายอย่างมาก

3. ไฟลัมแพลทีเฮลมินเทส (Phylum Platyhelminthes)
        สัตว์ในไฟลัมนี้เรียกกันทั่วไปว่าหนอนตัวแบน (Flat worm) ซึ่งมีลักษณะสำคัญดังนี้
  1. มีสมมาตรเป็นแบบครึ่งซีก (Bilateral symmetry)
  2. ไม่มีช่องว่างในลำตัว (Acoelomate animal) เนื่องจากเนื้อเยื่อชั้นกลางมีเนื้อเยื่อหยุ่นๆบรรจุอยู่เต็มไปหมด
  3. ไม่มีข้อปล้อง แต่บางชนิดเช่นพยาธิตัวตืด มีข้อปล้องแต่เป็นช้อปล้องที่เกิดขึ้นเฉพาะที่ผิวลำตัวเท่านั้น
  4. พวกที่ดำรงชีวิตแบบพยาธิ (Parasitic type) จะมีสารคิวทิเคิล (cuticle) ซึ่งสร้างจากเซลล์ ที่ผิวของลำตัวหุ้มลำตัวเพื่อป้องกันอันตรายซึ่งจะเกิดจากน้ำย่อยของผู้ที่มันเป็นปรสิตอยู่ (Host) ทำอันตรายแต่ในพวกที่ ดำรงชีพแบบอิสระ (Free living type) จะไม่มีสารคิวทิเคิลหุ้มแต่จะเป็นเมื่อกลื่นๆแทน เพื่อช่วยป้องกันให้เคลื่อนที่ได้ดีขึ้น
  5. ไม่มีระบบหมุนเวียนโลหิต ไม่มีเส้นเลือด ไม่มีหัวใจ สารอาหารไปเลี้ยงเซลล์โดยการแพร่จากทางเดินอาหารเข้าสู่เซลล์โดยตรง
  6. ไม่มีอวัยวะที่ใช้ในการหายใจโดยเฉพาะ ในพวกที่ดำรงชีวิตแบบปรสิตหายใจแบบไม่ใช้ออกซิเจน (Anaerobil respiration) ส่วนในพวกที่ดำรงชีวิตแบบอิสระหายใจแบบใช้ออกซิเจน (Aerobic respiration) โดยใช้ผิวลำตัวในการแลกเปลี่ยนก๊าซ
  7. ระบบทางเดินอาหารเป็นแบบไม่สมบูรณ์มีปากแต่ไม่มีทวารหนัก และทางเดินอาหารแตกแขนงออกเป็น 2-3 แฉก ในพวกพยาธิตัวตืดไม่มีทางเดินอาหาร
  8. ระบบขับถ่ายใช้เซลล์ชนิดพิเศษเรียกว่า เฟลมเซลล์ (Flame cell) ซึ่งแทรกอยู่ทั่วลำตัวทำหน้าที่สกัดของเสียและขับของเสียออกทางท่อที่อยู่ 2 ข้างลำตัว (Excretory canal)
  9. มีระบบประสาทอยู่ทางด้านหน้าและแตกแขนงออกไปทางงด้านข้างของ0ลำตัว
  10. ระบบสืบพันธุ์ จัดเปแนพวกกระเทย (Hermaphrodite) คือมีทั้งสองเพศในตัวเดียวกัน สามารถผสมพันธุ์ได้ภายในตัวเอง (Self fertilization) และผสมพันธุ์ข้ามตัว (Cross fretilization)
  



4. ไฟลัมนีมาโทดา (Phylum Nematoda)
        สัตว์ในไฟลัมนี้เรียกกันทั่วไปว่าหนอนตัวแบน (Flat worm) ซึ่งมีลักษณะสำคัญดังนี้
  1. มีสมมาตรเป็นแบบครึ่งซีก (Bilateral symmetry)
  2. ไม่มีช่องว่างในลำตัว (Acoelomate animal) เนื่องจากเนื้อเยื่อชั้นกลางมีเนื้อเยื่อหยุ่นๆบรรจุอยู่เต็มไปหมด
  3. ไม่มีข้อปล้อง แต่บางชนิดเช่นพยาธิตัวตืด มีข้อปล้องแต่เป็นช้อปล้องที่เกิดขึ้นเฉพาะที่ผิวลำตัวเท่านั้น
  4. พวกที่ดำรงชีวิตแบบพยาธิ (Parasitic type) จะมีสารคิวทิเคิล (cuticle) ซึ่งสร้างจากเซลล์ ที่ผิวของลำตัวหุ้มลำตัวเพื่อป้องกันอันตราย ซึ่งจะเกิดจากน้ำย่อยของผู้ที่มันเป็นปรสิตอยู่ (Host)
    ทำอันตรายแต่ในพวกที่ ดำรงชีพแบบอิสระ (Free living type) จะไม่มีสารคิวทิเคิลหุ้มแต่จะเป็นเมื่อกลื่นๆแทน เพื่อช่วยป้องกันให้เคลื่อนที่ได้ดีขึ้น
  5. ไม่มีระบบหมุนเวียนโลหิต ไม่มีเส้นเลือด ไม่มีหัวใจ สารอาหารไปเลี้ยงเซลล์โดยการแพร่จากทางเดินอาหารเข้าสู่เซลล์โดยตรง
  6. ไม่มีอวัยวะที่ใช้ในการหายใจโดยเฉพาะ ในพวกที่ดำรงชีวิตแบบปรสิตหายใจแบบไม่ใช้ออกซิเจน (Anaerobil respiration) ส่วนในพวกที่ดำรงชีวิตแบบอิสระหายใจแบบใช้ออกซิเจน (Aerobic respiration) โดยใช้ผิวลำตัวในการแลกเปลี่ยนก๊าซ
  7. ระบบทางเดินอาหารเป็นแบบไม่สมบูรณ์มีปากแต่ไม่มีทวารหนัก และทางเดินอาหารแตกแขนงออกเป็น 2-3 แฉกในพวกพยาธิตัวตืดไม่มีทางเดินอาหาร
  8. ระบบขับถ่ายใช้เซลล์ชนิดพิเศษเรียกว่า เฟลมเซลล์ (Flame cell) ซึ่งแทรกอยู่ทั่วลำตัวทำหน้าที่สกัดของเสียและขับของเสียออกทางท่อที่อยู่ 2 ข้างลำตัว (Excretory canal)
  9. มีระบบประสาทอยู่ทางด้านหน้าและแตกแขนงออกไปทางงด้านข้างของ0ลำตัว
  10. ระบบสืบพันธุ์ จัดเป็นพวกกระเทย (Hermaphrodite) คือมีทั้งสองเพศในตัวเดียวกัน สามารถผสมพันธุ์ได้ภายในตัวเอง (Self fertilization) และผสมพันธุ์ข้ามตัว (Cross fretilization)



5. ไฟลัมแอนเนลิดา (Phylum Annelida)
        สัตว์ที่อยู่ในไฟลัมนี้เรียกกันทั่ว ไปว่าหนอนตัวกลมมีปล้อง (Segmentted round worm) หรือ แอนเนลิด (annelid) มีลักษณะสำคัญดังนี้
  1. มีสมมาตรแบบผ่าซีก
  2. มีช่องว่างในลำตัวแบบแท้ (Eucoelomate animal) โดยช่องว่างนี้อยู่ภายในเนื้อเยื่อชั้นกลาง
  3. ลำตัวกลม ยาว มีลักษณะเป็นปล้องที่แท้จริงเกิดขึ้นตามขวางของลำตัวตลอดตัว
  4. มีเดือย (Seta) ยื่นออกจากผิวลำตัว ยกเว้นปลิงน้ำจืดไม่มี
  5. ทางเดินอาหารสมบูรณ์มีทั้งปากและทวารหนักเป็นท่อตรงตลอดลำตัว
  6. มีระบบหมุนเวียนโลหิตเป็นระบบปิด (Closed circulatory system) ประกอบไปด้วยหัวใจซึ่งเป็นเส้นเลือดหดตัวได้เรียกว่าา หัวใจเทียม (Pseudoheart) ทำหน้าที่สูบฉีดโลหิตไปตามเส้นเลือดที่ยาวตลอดลำตัว และแขนงที่แยกแแกไป เลือดมีสีแดงของฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) ในน้ำเลือดส่วนเซลล์เม็ดเลือดไม่มีสี 
  7. ระบบหายใจยังอาศัยผิวลำตัวที่เปียกชื้นให้เกิดการแลกเปลื่ยนก็าซกับสิ่งแวดล้อม แต่ในพวกแม่เพรียงมีอวัยวะข้างลำตัวช่วยในการแลกเปลื่ยนก็าซ
  8. อวัยวะขับถ่ายเรียกเนฟริเดีย (Nephridia) ซึ่งแทรกอยู่ภายในปล้อง มีลักษณะคล้ายหน่วยไต (Nephron) ของสัตว์ชั้นสูง
  9. ระบบประสาทเป็นเส้นคู่อยู่ทางด้านท้องเรียกว่า เส้นประสาทด้านท้อง (Ventral nerve cord) ในแต่ละปล้องจะมีแขนงประสาทแยกออกจาก เส้นประสาทด้านท้อง ไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆซึ่งอยู่ภายในปล้องนั้นๆ
  10. ส่วนใหญ่เป็นกระเทยมีบางชนิดเช่น แม่เพรียงเป็นสัตว์แยกเพศ



6. ไฟลัมมอลลัสกา (Phylum Mollusca)
        สัตว์ที่จัดอยู่ในไฟลัมนี้เรียกว่า มอลลัสก์ (Mollusk) ซึ่งหมายถึงสัตว์ที่มีลำตัวอ่อนนุ่ม มีทั้งหมดประมาณ 80,000 สปีชีส์ มีลักษณะสำคัญดังนี้
  1. มีสมมาตรเป็นแบบผ่าซีก (Bilateral symmetry)
  2. มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น ช่องตัวเป็นแบบแท้จริง (Eucoelomate animal)
  3. ลำตัวอ่อนุ่มไม่มีปล้องโดยทั่วไปแล้วมีแมนเทิล (Mantle) ทำหน้าที่ในการสร้างเปลือก ซึ่งเป็นสารจำพวกหินปูน (CaCo3) แต่บางชนิดอาจไม่มีเปลือก เช่นพวกทากทะเล 
  4. ระบบทางเดินอาหารเป็นแบบสมบูรณ์มีปากและมีทวารหนักแต่ทางเดินอาหารมักจะขด เป็นรูปตัวยู (U) ในช่องปากมักมีแรดูลา (Radula) ซึ่งเป็นสารจำพวกไคทิน (Chitin) ช่วยในการขูดและกินอาหาร (ยกเว้นพวกหอย 2 ฝาไม่มีแรดูลา) นอกจากนี้ยังมีน้ำย่อยที่ สร้างจากต่อมน้ำลายช่วยในการย่อยอาหารอีกด้วย 
  5. ระบบหมุนเวียนโลหิตเป็นระบบเปิด (Open circulatory system) ซึ่งหมายถึง เลือดไม่ได้อยู่ภายในเส้นเลือดตลอดเวลา แต่มีบางระยะเลือดไหลเข้าสู่ช่องว่างในลำตัว แล้วจึงไหลกลับเข้าสู่หัวใจอีก หัวใจของพวกมอลลัสก์ มี 2-3 ห้อง ทำหน้าที่รับส่งเลือด ในน้ำเลือดมีสารเฮโมไซยานิน (Homocyanin) ซึ่งมีธาตุทองแดง(Cu) เป็นองค์ประกอบ อยู่หรือเฮโมโกลบิน(Hemoglobin) ซึ่งมีธาตุเหล็กเป็นองค์ประกอบอยู่ช่วยในการลำเลียง ก็าซออกซิเจน
  6. ระบบหายใจพวกที่อยู่ในน้ำหายใจด้วยเหงือกส่วนพวกที่อยู่บนบกหายใจด้วยปอดซึ่ง เปลี่ยนแปลงมาจากช่องของแมนเทิลหรืออาจใช้แมนเทิลและผิวลำตัวในการแลกเปลี่ยนก็าซ เพื่อการหายใจ
  7. อวัยวะขับถ่ายประกอบด้วยเนฟริเดีย (Nephridia) เป็นคู่ๆช่วยสกัดของเสียออกจากเลือด
  8. ระบบประสาทโดยทั่วไปประกอบด้วยปมประสาท 3 คู่ คือปมประสาทที่หัว (Cerebral ganglion) ควบคุมการทำงานของอวัยวะที่ส่วนหัว ปมประสาทเท้า (Pedal ganglion)ควบคุมอวัยวะที่เท้า(Foot)และการหดตัวของกล้ามเนื้อซึ่งทำให้เกิดการเคลื่อนที่ ปมประสาทที่อวัยวะภายใน(Visceral ganglion)ควบคุมการทำงานของอวัยวะภายในต่างๆ ปมประสาททั้ง 3 ส่วนจะทำงานประสานกันโดยมีเส้นประสาทเชื่อมโยงจากปมประสาท ที่หัวไปยังปมประสาทที่เท้าและอวัยวะภายในด้วย
  9. ระบบสืบพันธุ์ โดยทัวไปแล้วเป็นสัตว์แยกเพศ ตัวผู้และตัวเมียแยกกัน มีบางชนิด เช่น หอยทากเปลี่ยนเพศได้ (Protandic hermaphrodite)การปฏิสนธิมีทั้งภายนอกและ ภายในร่างกายโดยทั่วไปแล้วออกลูกเป็นไข่บางชนิดเท่านั้นที่ออกลูกเป็นตัว
  10. ร่างกายของมอลลัสก์อ่อนนุ่นไม่แบ่งเป็นปล้อง ประกอบด้วยส่วนต่างๆ คือ
  • ส่วนหัว (Head) บางชนิด เช่น หอยฝาเดียว หมึก ส่วนหัวเจริญดีมาก มีตาและหนวดช่วยในการสัมผัส แต่พวกหอยสองฝาส่วนหัวจะไม่ค่อยเจริญ
  • ส่วนเท้า (Foot) เป็นกล้ามเนื้อช่วยให้หอยเคลื่อนที่อยู่ทางด้านท้อง (Ventral)
  • อวัยวะภายใน (Visceral mass) เป็นส่วนอวัยวะภายในที่อยู่บริเวณกลางๆ ลำตัวและภายในส่วนของเท้า
  • แมนเทิล (Mantle) เป็นเยื่อบางๆที่ปกคลุมลำตัว และติดต่อกับพื้นด้านในของกาบหรือ เปลือกแมนเทิลช่วยในการสร้างกาบและเปลือกหอย


7. ไฟลัมอาร์โทรโพดา (Phylum Arthropoda)
       สัตว์ที่จัดอยู่ในไฟลัมนี้เรียกว่าสัตว์ขาข้อ หรืออาร์โทรพอด (Arthropod) ซึ่งหมายถึงมีรยางค์ต่อกัน เป็นข้อๆ สัตว์กลุ่มนี้มีจำนวนมากที่สุด ประมาณ1,200,000 ชนิด หรือกว่า 80% ของอาณาจักรสัตว์ พวกอาร์โทรพอดมีความสำพันธ์กับพวกแอนเนลิดมาก โดยเจิญมาจากพวกแอนเนลิด อาร์โทรพอดมีลักษณะสำคัญดังนี้
  1. มีสมมาตรแบบผ่าซีก
  2. มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น และมีช่องตัวแบบแท้งจริง
  3. ลำตัวมีลักษณะเป็นปล้อง และแบ่งออกเป็นส่วนๆโดยทั่วไปแล้วมี 3 ส่วน คือ ส่วนหัว(Head) ส่วนอก( Thorax) และส่วนท้อง(Abdomen) เช่นพวกแมลง แต่บางชนิดส่วนหัวและส่วนอกจะรวมกันเป็นส่วนเดียวแยกออกจากกันไม่ได้เรียกว่า เซฟาโลทอแรกซ์ (Cephalothorax) เช่น กุ้ง ปู นอกจากนี้ในพวกกิ้งกือและ ตะขาบส่วนของอกและท้องจะมีลักษณะเหมือนกัน
  4. มีรยางค์ยื่นออกจากลำตัวเป็นคู่ๆ เช่น ขาเดิน ขาว่ายน้ำ อวัยวะส่วนปาก หนวด ปีก และรยางค์เหล่านี้มักมีลักษณะต่อกันเป็นข้อๆด้วย
  5. มีโครงร่างภายนอก (Exoskeleton) เป็นสารจำพวกไคทิน(Chitin) แข็งหุ้มรอบตัว ดังนั้นในขณะที่มีการเจริญเติบโต สัตว์ในไฟลัมนี้หลายชนิดจึงต้องมีการลอกคราบ (Molting) เพื่อเอาเปลือกเก่าซึ่งมีขนาดเล็กออกเล็กแล้วสร้างเปลือกใหม่ที่มีขนาดใหญ่กว่าขึ้นมาแทน
  6. ทางเดินอาหารเป็นแบบสมบูรณ์ มีปากและทวารหนัก สำหรับส่วนปากมีอวัยวะที่ช่วยในการกินอาหารและมีการดัดแปลงไปเพื่อให้เหมาะสมกับ สภาพของอาหาร เช่นมีปากแบบกัดกิน ดูดกิน เจาะดูด เป็นต้น
  7. ระบบหมุนเวียนโลหิตเป็นระบบเปิด (Open circutory sysytem) โดยเลือดเมื่อออกจากหัวใจเทียม (Pseudoheart) แล้วจะไหลไปตามเส้นเลือด ต่อจากนั้นจะไหลเข้าสู่ช่องว่างในลำตัว (Hemocoel) แล้วไหลกลับเข้าสู่หัวใจอีก จะเห็นได้ว่าเลือดไม่ได้อยู่ภายในหัวใจและเส้นเลือดตลอดเวลา แต่มีบางระยะที่เลืออดไหลออกมาอยู่นอกเส้นเลือด จึงเรียกระบบการหมุนเวียนแบบนี้ว่า ระบบเปิด นอกจากนี้ สัตว์กลุ่มนี้อามีเลือดเป็นสีฟ้าอ่อนหรือไม่มีสีเนื่องจากสาร เฮโมไซยานิน (Hemocyanin) เป็นองค์ประกอบหรือมีสีแดงเนื่องจากเฮโมโกลบิน (Hemoglobin) เป็นองค์ประกอบ
  8. มีระบบขับถ่ายเป็นลักษณะเฉพาะของกลุ่ม เช่น แมลงมี มัลพีเกียน ทูบูล (Malpighain tuble) ซึ่งเป็นท่ออยู่ที่ทางเดินอาหารเป็นอวัยวะขับถ่าย กุ้งมีกรีนแกลนด์ หรือต่อมเขียว (Green gland) ที่โคนหนวดทำหน้าที่ขับถ่าย
  9. ระบบหายใจประกอบด้วยอวัยวะหาบใจหลายชนิดในพวกที่อยู่ในน้ำเช่น พวกกุ้ง ปู หายใจด้วยเหงือก (Gill) พวกแมลงหายใจได้ด้วยระบบท่อลม (Tracheal system) ที่แทรกอยู่ทั้งตัว แมงมุมหายใจด้วยบุคลัง (Book lung) ที่บริเวณส่วนท้อง ซึ่งมีลักษณะเป็นแผ่นบางๆซ้อนกันอยู่หลายชั้นเป็นต้น
  10. ระบบประสาทมีปมประสาทที่หัว 1 คู่ และมีเส้นประสาททางด้านท้อง (Ventral nerver cord) ทอดไปตามความยาวของลำตัว 1 คู่และมีอวัยวะสัมผัสเจริญดี เช่น ตาเดี่ยว ตาประกอบ หนวด ขาสัมผัสเป็นต้น
  11. ระบบสืบพันธุ์เป็นสัตว์แยกเพศ มักมีการปฏิสนธิภายในตัว และออกลูกเป็นไข่ที่มีไข่แดงมากในขณะที่มีการเจิญเติบโต มักมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างไปด้วย
  



 8. ไฟลัมเอคไคโนเดิร์มาตา
        สัตว์พวกนี้มีผิวลำตัวขรุขระหรือมีหนามเรียกว่าพวก เอไคโนเดิร์ม ( Echinoderm) มีลักษณะสำคัญดังนี้
  1. มีสมมาตรเป็น 2 แบบ เมื่อเป็นตัวอ่อนมีสมมาตรแบบผ่าซีก (Bilateral symmetry) เมื่อเจริญเป็นตัวเต็มวัยมีสมมาตรแบบรัศมี (Radial symmetry)
  2. มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น ชั้นนอกประกอบด้วยผิวขรุขระ ภายในมีโครงร่าง (Endoskeleton) เป็นชิ้นหินปูนขนาดเล็กต่อกัน ทำให้เคลื่อนไหวได้ บางชนิดเป็นแผ่นแข็งทำให้เคลื่อนไหวไม่ได้ โครงร่างภายในนี้เปลื่ยนแปลงมาจากเนื้อเยื่อชั้นกลาง (Mesoderm)
  3. ทางเดินอาหารสมบูรณ์ประกอบด้วยปากและทวารหนัก ยกเว้นบางชนิด เช่น ดาวเปราะ (Brittle star) มีปากแต่ไม่มีทวารหนัก
  4. มีระบบทางเดินน้ำ (Water vascular system) อยู่ภายในตัวและมีเท้าท่อ (Tube feet) ช่วยในการเคลื่อนที่ โดยการผสานการทำงานของเท้าท่อและระบบน้ำเข้าด้วยกัน
  5. ระบบหมุนเวียนไม่ค่อยเจริญมากนัก มีเหงือกที่ผิวลำตัว (dermal branchia) ช่วยในการหายใจ
  6. ระบบประสาทประกอบด้วย ปมประสาทรูปวงแหวนรอบปากและมีข่ายใยประสาท (Nerve net) แพร่กระจายทั่วตัวรวมทั้งแทรกเข้าไปในแฉกด้วย
  7. เป็นสัตว์แยกเพศและมีอวัยวะสืบพันธุ์เจริญดีมาก มีการปฏิสนธินอกตัว และมีการเจริญนอกตัวอ่อนซึ่งมีลักษณะแตกต่างตัวเต็มวัยเป็นอย่างมาก
  8. สัตว์ในไฟลัมนี้อาศัยอยู่ในทะเลทั้งหมด


9. ไฟลัมคอร์ดาตา (Phylum Chordata)
        สัตว์ไฟลัมคอร์ดาตาเรียกว่าาพวกคอร์เดต (chordate)สัตว์ในไฟลัมนี้ถึอว่ามี ความสำคัญที่สุด และมีวิวัฒนาการสูงสุด มีการปรับตัวทั้งโครงสร้างภายนอก โครงสร้างทางกายวิภาค สรีรวิทยา พฤติกรรมมากกว่าสัตว์ กลุ่มอื่นๆ สำหรับกำเนิดของคอร์เดตนั้นยังไม่มีใครระบุได้แน่ชัด แต่เชื่อกันว่าคอร์เดตน่าจะวิวัฒนาการมาจากพวกเอไคโนเดิร์ม เนื่องจากการเจริญของตัวอ่อนกลุ่ม นี้มีลักษณะคล้ายคลึงกันเช่นการเกิดของช่องตัวและการเกิดของช่องทวารหนัก แต่ก็ไม่มีใครสรุปได้แน่นอนว่าคอร์เดตวิวัฒนาการมาจากเอไคโนเดิร์ม หรือมีบรรพบุรุษร่วมกับ พวกเอไคโนเดิร์มเป็นสัตว์ที่จัดอยู่ในไฟลัมคอร์ดาตามีลักษณะร่วมกันดังนี้
  1. มีโนโตคอร์ด(Notochord) ซึ่งเป็นแกนค้ำจุนหรือพยุงกายเกิดขึ้นในระยะใดระยะหนึ่งของชีวิต หรือตลอดชีวิต ในพวกสัตว์ชั้นสูงมีกระดูกอ่อนหรือกระดูกแข็งแทนโนโตคอร์
  2. มีไขสันหลังเป็นหลอดยาวกลวงอยู่ทางด้านหลัง (Dorsal hollow nerve tube) เหลือทางเดินอาหารซึ่งแตกต่างจากสัตว์พวกไม่มีกระดูกสันหลัง ซึ่งมีระบบประสาทอยู่ทางด้านท้อง(Ventral nerve cord) ใต้ทางเดินอาหารและเป็นเส้นตัน
  3. มีช่องเหงือก(Gill slit) ในระยะใดระยะหนึ่งของชีวิต หรือตลอดชีวิตในพวหสัตว์มีกระดูกสันหลังชั้นสูง เช่น สัตว์ปีก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมจะมีช่องเหงือกตอนเป็นตัวอ่อนเท่านั้น เมื่อโตขึ้นช่องเหงือกจะปิดส่วนปลามีช่องเหงือกตลอดชีวิต สัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตาแบ่งออกเป็น 2 พวกคือ

          - โพรโทรคอร์เดต(Protrochordate) ได้แก่ เพรียงหัวหอม(Tumicate)และแอมฟิออกซัส(Amphioxus)
         - สัตว์มีกระดูกสันหลัง(Vertebrate) ได้แก่ ปลาปากกลม(Cyclostome) ปลาฉลาม ปลากระเบน ปลาฉนาก ปลาทู ปลาตะเพียน ปลาดุก ปลาช่อน ม้าน้ำและสัตว์มีกระดูกสันหลังอื่นๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น